วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 7-10



แบบฝึกหักบทที่ 7
สรุปบทที่ 7
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า DSS  เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองข้อมูลในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง  เราสามารถจำแนกส่วนประกอบของ DSS ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
                1.  อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ DSS แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ อุปกรณ์ประมวลผล อุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์แสดงผล
                2.  ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องกาของผู้ใช้
                3.  ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบระบบการทำงานให้สอดคล้องกันมากเพียงใด
                4.  บุคลากรจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การพัฒนา การออกแบบ และการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยที่เราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่ม ผู้ใช้และผู้สนับสนุนระบบ DSS        
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หรือที่เรียกว่า GDSS เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในกาตัดสินใจของกลุ่ม ต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
                1. อุปกรณ์ อุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกันตามหลัก การยศาสตร์ จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างความสอดคล้องระหว่างอุปกรณ์และผู้ใช้ในการทำงาน
                2.  ชุดคำสั่ง  ต้องมีลักษณะเหมาะสมในการรวบรวมและนำเสนอข้อมูล บ่งชี้ความจำเป็นก่อนหลังในการตัดสินปัญหาต่างๆ ช่วยส่งเสริมการแสดงความคิดเห็น เพื่อที่จะหาข้อสรุปของปัญหา
                3.  บุคลากร จะรวมถึงสมาชิกของกลุ่มตลอดจนผู้สนับสนุนในด้านต่างๆ ที่ทำให้การทำงานและการตัดสินใจของกลุ่มดำเนินไปอย่างเรียบร้อย
                ประโยชน์ของ GDSS มีดังนี้
                -  ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
                -  มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
                -  สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
                -  สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
                -  มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
                -  ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
                -  มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด
   1.  จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการตัดสินใจ
ตอบ  การจัดการก็คือ กิจกรรมต่างๆที่แต่ละองค์การจะต้องทำ เช่น การเข้าประชุม การวางแผนงาน                  การติดต่อกับลูกค้า จัดงานเลี้ยงเปิดตัวสินค้า โดยที่ Henri Fayol ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการไว้ 5 ประการด้วยกันคือ การวางแผน การจัดองค์การ การประสานงาน การตัดสินใจและการควบคุม จะเห็นว่าการตัดสินใจก็เข้ามามีบทบาทสำคัญเช่นกัน  องค์การจะประสบความสำเร็จหรือประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการต่างๆ นับว่ามีส่วนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ การเลือกโอกาส หรือแก้ปัญหาของผู้บริหารเป็นสำคัญ
 2.  เราสามารถจำแนกการตัดสินใจภายในองค์การออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง
ตอบ  3 ระดับ คือ
                -  การตัดสินใจระดับกลยุทธ์
                -  การตัดสินในระดับยุทธวิธี
                -  การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ
 3.  เราสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ   3 ขั้นตอน คือ
                -  การใช้ความคิดประกอบเหตุผล
                -  การออกแบบ
                -  การคัดเลือก
 4.  การตัดสินใจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ  มี 3 ประเภท คือ
                -  การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง
                -  การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง
                -  การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง
 5.  การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ  เป็นการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่อาจจะวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า และมักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลากหลาย ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับอนาคต
6.  จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ  ระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
 7.  DSS มีส่วนประกอบอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ       1  อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
                     - อุปกรณ์ประมวลผล 
                     - อุปกรณ์สื่อสาร
                     - อุปกรณ์แสดงผล DSS
                2  ระบบการทำงาน มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนดังนี้
                     - ฐานข้อมูล
                     - ฐานแบบจำลอง
                     - ระบบชุดคำสั่งของ DSS
                3  ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบระบบการทำงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอ แล้วก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม
                บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคคลจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การกำหนดปัญหาและความต้องการ การพัฒนา การออกแบบและการใช้ DSS ซึ่งเราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
                     - ผู้ใช้
                     - ผู้สนับสนุน
8.  การพัฒนา DSS มีความเหมือนหรือความแตกต่างจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประเภทอื่นอย่างไร
ตอบ  DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติการที่แลกเปลี่ยน เก็บรวบรวม และประมวลผลข้อมูลคือ DSS จะจัดการกับข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่เหมาะสมกับการตัดสินใจของผู้ใช้ โดย DSS จะใช้ข้อมูลที่ประมวลผลจากระบบการปฏิบัติการมาจัดระเบียบ และวิเคราะห์ตามคำสั่งและความสนใจของปัญหา นอกจากนี้ DSS ยังช่วยเร่งพัฒนาการและความเข้าใจในศักยภาพการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุม มากกว่าการปฏิบัติงานประจำวัน
9.  ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนา DSS อย่างไร
ตอบ       -  การวิเคราะห์ระบบ เป็นขั้นตอนแรกในการพัฒนา DSS โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะกำหนดถึงปัญหา ตลอดจนวิเคราะห์หาขั้นตอนที่สำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหานั้นๆ
                -  การออกแบบระบบ จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีความพิเศษในตัวเองที่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อยๆ ผู้ออกแบบควรจะออกแบบให้ระบบมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับตัวได้ตามความเหมาะสมและมีความสะดวกต่อผู้ใช้
                -  การนำไปใช้ DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยทั่วไป ที่ผู้ใช้จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบจากแรกเริ่มต้นจนถึงสภาวะปัจจุบัน และจะพัฒนาต่อไปในอนาคต
 10.  จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม (GDSS)
ตอบ  ประโยชน์ของ GDSS มีดังนี้
                -  ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
                -  มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
                -  สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
                -  สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
                -  มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
                -  ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
                -  มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

 แบบฝึกหัดบบที่ 8 
สรุปบทที่ 8
                การดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อนและมีความรุนแรงในการแข่งขัน ทำให้ผู้บริหารต้องสามารถตัดสินใจอย่างถูกต้อง รวดเร็ว จึงต้องอาศัยสารสนเทศที่เหมาะสมดังทีมี่ผู้กล่าวว่า สารสนเทศคือ อำนาจ ทุกองค์การจึงต้องจัดหาและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ลุคลากรบางกลุ่มในองค์การจะมีความต้องการสารสนเทศที่เฉพาะ เช่น ผู้บริหารจะมีความแตกต่างจากผู้ใช้ข้อมูลในระดับอื่นที่ต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ง่ายต่อการตัดสินใจ ไม่ต้องเสียเวลาประมวลผลอีก
                ปัจจุบันมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะบุคคลที่เข้ารับการสัมมนาระยะสั้น หรือผู้ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่สมบูรณ์ โดยคิดว่าระบบสารสนเทศเป้ฯแก้วสารพัดนึกที่ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลทุกประเภท โดยเฉพาะ EIS ประการสำคัญ เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงในหลายองค์การยังมีความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้เกิดความคาดหวังที่คลาดเคลื่อนจากความสามารถของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะมีผลต่อความประทับใจ ความเชื่อมั่น และการสนับสนุนต่อการพัฒนาระบบในอนาคต
1.  เหตุใดการตัดสินใจของผู้บริหารจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ
ตอบ  ผู้บริหารเป็นบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่และอนาคตขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การ ผ่านการตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสที่สำคัญทางธุรกิจ

2. สารสนเทศสำหรับผู้บริหารมีคุณลักษณะที่สำคัญที่แตกต่างจากสารสนเทศสำหรับบุคคลอื่นในองค์การอย่างไร
ตอบ  บุคลากรแต่ละคนจะมีความต้องการข้อมูลในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันตามตำแหน่งหน้าที่และตามลำดับขั้นในองค์การ เช่น พนักงานปฏิบัติงานจะต้องการข้อมูลที่ชัดเจน แน่นอนและเป็นรูปธรรม เพื่อที่จะปฏิบัติงานได้ตามรูปแบบ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง ซึ้งมีความต้องการข้อมูลที่มีความแตกต่างจากบุคลากรกลุ่มอื่นขององค์การ เนื่องจากงานของผู้บริหารจะมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ขององค์การ แต่มีข้อจำกัดที่ชนิดของปัญหา ความถี่ อัตราความต้องการ และระยะเวลาการตัดสินใจ 
3. ปกติผู้บริหารได้รับข้อมูลในการตัดสินใจจากแหล่งใดบ้าง ตลอดจนข้อมูลจากแต่ละแหล่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริหารอย่างไร
ตอบ       -  ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการดำเนินงาน เป็นข้อมูลที่แสดงผลการปฏิบัติงานขององค์การ หน่วยงาน หรือระบบที่สนใจ ข้อมูลจากการดำเนินงานช่วยสร้างความเข้าใจและสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีต
                -  ข้อมูลจากภายในองค์การ เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นภายในองค์การเพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหรือผลการดำเนินงานของกิจกรรม หรือโครงการในด้านต่างๆขององค์การ ได้แก่ งบประมาณ แผนรายจ่าย
                -  ข้อมูลจากภายนอกองค์การ ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบต่อองค์การ      โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวิทยาการในประเทศ
4. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อศักยภาพในการแข่งขันขององค์การในยุคปัจจุบัน
ตอบ  ผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และยังช่วยส่งเสริมการนำระบบสารสนเทศมาช่วยงานทางธุรกิจด้วย
5. จงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมทักษะทางสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารระดับสูง
ตอบ  ควรทำการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารระดับสูง ให้มีความรู้ทางด้านนี้ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ช่วยพัฒนางานในด้านที่ผู้บริหารระดับสูงจะต้องทำ  จริงอยู่ที่มีการบอกว่าผู้บริหารระดับสูง         ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ  แต่ก็ควรมีความรู้เกี่ยวกับด้านนี้ด้วย
 6. จงอธิบายความหมายและคุณลักษณะเฉพาะของ EIS
ตอบ  ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องการข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะระยะเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันทางธุรกิจที่เกิดขึ้น และปรับตัวอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
7. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, DSS และ MIS
ตอบ  ทั้ง 3 ต่างถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการกับข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ แต่ทั้ง 3 ระบบจะมีความแตกต่างกันในระดับของการใช้งาน การนำเสนอข้อมูล และความยากง่ายในการใช้
8. คุณสมบัติสำคัญของ EIS  มีอะไรบ้าง
ตอบ       -  สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์
                -  เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
                -  มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง
                -  ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
                -  พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
9. ข้อดีและข้อจำกัดในการนำ EIS มาใช้งานในองค์การมีอะไรบ้าง
ตอบ  ข้อดี คือ      ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
                                -  ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
                                -  ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
                                -  ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
                                -  ประหยัดเวลาในการดำเนินงาน
                                -  สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
           ข้อจำกัด คือ     -  มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
                                        -  ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
                                        -  ยากต่อการประเมินประโยชน์ และผลตอบแทนที่องค์การจะได้รับ
                                        -  ไม่ถูกพัฒนาให้ทำการประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลาย
                                        -  ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล
                                        -  ยากต่อการรักษาความทันสมัยของข้อมูลของระบบ
                                        -  ปัญหาด้านการรักษาความลับของข้อมูล
10. ท่านมีความเห็นว่ามีการประยุกต์ EIS ในองค์การในประเทศบ้างหรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  การใช้ระบบ EIS ได้มีการพัฒนา เพื่อใช้ในองค์การแล้ว ทั้งทางด้านธุรกิจ มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้บริหาร


แบบฝึกหัดบทที่ 9
สรุปบทที่ 9
                ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI  เป็นสาขาที่มีการพลวัตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความหมายและความเข้าใจหลายแขนงวิชามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว  ปัจจุบันการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับ AI  แยกระบบความฉลาดออกเป็นหลายสาขาด้วยกัน ซึ่งในที่นี้จะขอนำมากล่าวเพียง                    5 สาขาดังต่อไปนี้
                การประมวลภาษาธรรมชาติ
                -  ระบบภาพ
                -  ระบบเครือข่ายเส้นประสาท
                -  หุ่นยนต์
                -  ระบบเชี่ยวชาญ
                ระบบผู้เชี่ยวชาญ คือ ชุดคำสั่งของคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับปัญหาเฉพาะเรื่อง และกระบวนการอนุมานเพื่อนำไปสู่ผลสรุปของปัญหานั้น โดยความรู้ที่เก็บรวบรวมอาจเป็นข้อมูลที่ถูกบันทึกอย่างเป็นทางการในเอกสารต่างๆหรือเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น
                การพัฒนาระบบ EIS นับว่ามีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในที่นี้พอจะสรุปได้ 5 ขั้นตอนด้วยกัน คือ การวิเคราะห์ปัญหา การเลือกอุปกรณ์ ( การแสวงหาความรู้ เครื่องอนุมาน การติดต่อกับผู้ใช้ ES ชุดคำสั่ง และการธำรงรักษาและการพัฒนาระบบ) การถอดความรู้ การสร้างต้นแบบ และการขยาย การทดสอบ และบำรุงรักษา
แบบฝึกหัด
1. จงอธิบายความหมายของระบบความฉลาดและปัญญาประดิษฐ์
ตอบ     ระบบความฉลาดหมายถึงระบบที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถกล่าวได้ว่า มีความฉลาดตามความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งการศึกษาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มักจะเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) หรือ AI เนื่อง จากเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นสาขาวิชาที่มีการพลวัตอย่างรวดเร็วส่งผลให้ความหมายและความข้าใจในหลายแขนงวิชามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
 2. AI มีการดำเนินงานที่เหมือนหรือแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไปอย่างไร
ตอบ  AI   มีการดำเนินงานที่แตกต่างเพราะ
                1. AI ทำการประมวล (Manipulating) ทั้งสัญลักษณ์ (Symbols) และตัวเลข (Numbers) ปกติระบบ AI จะถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการประมวลสัญลักษณ์มากกว่าประมวลตัวเลข
                2. AI เป็นชุดคำสั่งแบบมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์ (Non-Algorithmic) หรือHeuristic ปกติระบบสารสนเทศทั่วไปจะดำเนินการวิเคราะห์และแก้ปัญหาตามขั้นตอนโดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ (Algorithm) เป็นสำคัญ
                3.ชุดคำสั่งของระบบ AI จะให้ความสำคัญกับการรับรู้แบบแผน (Pattern Recognition) ตามที่ถูกกำหนดมา เพื่อใช้ในการประมวลผลตามลักษณะของงาน
 3. เราสามารถจำแนก AI ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ   5 ประเภท คือ   การประมวลภาษาธรรมชาติ
                                        -  ระบบภาพ
                                        -  ระบบเครือข่ายเส้นประสาท
                                        -  หุ่นยนต์
                                        -  ระบบเชี่ยวชาญ
 4. ระบบผู้เชี่ยวชาญคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจาก AI อย่างไร
ตอบ   ระบบ ผู้เชี่ยวชาญ คือ เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาโดยจะเกี่ยวกับการจัดการความรู้มากกว่า สารสนเทศทั่วไป ระบบนี้จัดเป็นงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีการปฏิบัติและติดตั้งใช้งานมาก ที่สุด ระบบจะมีการโต้ตอบกับผู้ใช้ ให้ข้อแนะนำช่วยเหลือ ระบบนี้เป็นการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญมาไว้ในคอมพิวเตอร์
 5. จงเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างฐานความรู้กับฐานข้อมูล
ตอบ  ฐานความรู้ (Knowledge Base) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมและประสบการณ์ที่สำคัญของผู้เชี่ยวชาญฐานข้อมูล จะเก็บรวบรวมตัวเลข, สัญลักษณ์และอาจมีส่วนแสดงความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันระหว่างแต่ละฐานข้อมูล
 6. เราสามารถประเมินความรู้ของระบบสารสนเทศว่ามีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาความรู้อย่างไร
ตอบ    การทดสอบแบบ Turning (Turning Test) โดย กำหนดคอมพิวเตอร์และบุคคลที่มีความรู้ในสาขานั้นตอบคำถามจากผู้สัมภาษณ์ ผู้ตอบคำถาม และระบบความฉลาดถูกจัดให้อยู่ในห้องที่แยกจากกันอย่างเป็นสัดส่วน
 7. จงอธิบายขั้นตอนในการพัฒนา ES ตลอดจนเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการพัฒนา ES กับการพัฒนาระบบสารสนเทศปกติ
ตอบ       1.การวิเคราะห์ปัญหา
                2.การเลือกอุปกรณ์
                3. การถอดความรู้
                4. การสร้างต้นแบบ
                5.การขยาย การทดสอบ และบำรุงรักษา
 8. วิศวกรรมความรู้คืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจากการวิเคราะห์และออกแบบอย่างไร
ตอบ  โดยธรรมชาติ วัสดุทุกชนิดจะมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนรูปในลักษณะทั้งแบบยืดหยุ่นได้ (รูปร่างกลับ มาเหมือนเดิม) และแบบถาวร (รูปร่างเปลี่ยนไปแบบถาวร ไม่เหมือนก่อนการเปลี่ยนรูป) ซึ่งการเปลี่ยนรูปดังกล่าวจะเป็นแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับแรงที่มากระทำกับวัสดุ และค่าการกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ โดยที่ถ้าแรงที่มากระทำกับวัสดุมากกว่าค่าการกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ การเปลี่ยนรูปแบบถาวรก็จะเกิดขึ้นแต่ถ้าแรงที่มากระทำกับวัสดุไม่มากเกินค่า การกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ วัสดุก็จะกลับคืนสู่รูปร่างเดิม
 9. จงอธิบายการทำงานของระบบเครือข่ายใยประสาท
ตอบ     จะต้องประกอบด้วยเซลล์ประสาทที่ต่อเรียงกันเข้าเป็นระบบอย่างน้อย 2ระดับโดยระดับแรกเรียกว่า ระดับนำเข้าทำ หน้าที่รับสิ่งนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่ระบบ แล้วทำการสงต่อให้เครือข่ายในระดับถัดไปตาหน้าที่และความสัมพันธ์ที่ถูก กำหนดจนกระทั่งถึงระดับสุดท้ายหรือที่เรียกว่าระดับแสดงผลลัพธ์
10. ท่านคิดว่าแนวโน้มและทิศทางในการพัฒนาระบบความฉลาดของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทิศทางใด
ตอบ    คอมพิวเตอร์ ยุคปัจจุบันมีวิวัฒนาการก้าวหน้าไปมาก และได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์แทบจะทุกสาขา สำหรับการศึกษาและการค้นคว้าวิจัยทางเคมีนั้น คอมพิวเตอร์ได้มีส่วนช่วยทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในระยะหลังๆนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้คอมพิวเตอร์คำนวณและออกแบบก่อนทำการทดลองจริง ในการทดลองบางอย่าง ในสถานการณ์เหล่านี้คอมพิวเตอร์เป็นทางออกที่ดีทีเดียว ความสำเร็จของคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบโมเลกุลนี้ ไม่เพียงปรากฏผลเฉพาะแต่ในวงการวิชาการเท่านั้น หากยังออกดอกออกผลไปสู่อุตสาหกรรมอีกด้วย

แบบฝึกหัดบทที่ 10
สรุปบทที่ 10 การจัดการความรู้
          ความรู้  (Knowledge)     มีความสำคัญมากในองค์กร แต่สิ่งที่มีผลกระทบต่อความรู้ที่เกิดขึ้นในองค์กรก็คือ การเปลี่ยนแปลง ทำให้วิธีการคิดและกระบวนการทำงานมีผลกระทบต่อความรู้ที่องค์กรมีอยู่ ในบางครั้งพนักงานได้ลาออกหรือเสียชีวิต โดยที่ไม่ได้มีการวางแผนในการจัดเก็บดูแลและรักษาข้อมูลไว้เลย ทำให้ความรู้ที่ได้สั่งสมมา อาจสูญหายพร้อมกันไปด้วย นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้นที่ การเปลี่ยนแปลง ทำให้มีผลกระทบต่อการทำงานทั้งองค์กร แต่ในชีวิตจริง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีปัจจัยมากมายทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกองค์กรซึ่งองค์กรไม่สามารถควบคุมได้
           การจัดการความรู้ ( Knowledge management - KM)   คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุดการจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์  รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร และประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา, เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น
          ประเภทของความรู้      ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำราเว็บไซด์ Blog ฯลฯ ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน
 แบบฝึกหัดบทที่ 10 การจัดการความรู้
1.  เพราะเหตุใดในปัจจุบันความรู้จึงมีความสำคัญกับองค์การ
ตอบ   เมื่อข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างมากมายจึงทำให้เกิดสังคมแบบใหม่ที่เรียกกันว่า สังคมสารสนเทศ , สังคมแห่งความรู้ หรือสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นผลให้องค์การต่างๆต้องปฏิรูปตนเองเพื่อความอยู่รอดกันอย่างเต็มที่ และรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
2. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูล ความรู้ และสารสนเทศ
ตอบ   ข้อมูล คือ ชุดของข้อเท็จจริงเชิงวัตถุสามารถมองเห็นได้ เมื่อใช้กับหน่วยงานราชการ คำว่าข้อมูลหมายถึง บันทึกกิจกรรมทางราชการ เช่น มีผู้มาติดต่อราชการ เพื่อ ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูล เราสามารถบอกได้ว่า ผู้ประกอบการจะผลิตอะไร มีส่วนประกอบอะไร สถานที่ผลิตตั้งอยู่ที่ไหน เลขทะเบียนที่ ได้รับ คือหมายเลขอะไร  ความรู้ คือ กรอบของการประสมประสานระหว่าง ประสบการณ์ ค่านิยม และความรอบรู้บริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบของ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
3. ลำดับขั้นของความรู้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ    5   ประเภทได้แก่
                1. ความสามารถ (Capability)
                2.ความชำนาญ (Expertise)
                3. ความรู้ (Knowledge)
                4. สารสนเทศ (Information)
                5. ข้อมูล (Data)
 4.  โมเดลการสร้างความรู้ (SECI) ประกอบด้วยกระบวนการอะไรบ้าง และแต่ละกระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ       Socialization   คือ การสร้างความรู้ด้วย การแบ่งปันประสบการณ์โดยการพบปะ
สมาคม และพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอด แบ่งปัน ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น
                Externalization   คือ การนำความรู้ในตัวบุคคลที่ได้นำมาพูดคุยกันถ่ายทอดออกมาให้เป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
                Combination   คือ การผสมผสานความรู้ที่ชัดแจ้งมารวมกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
เพื่อให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้
                Internalization   คือ การนำความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติหรือลงมือทำจริง ๆโดยการ ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา จนกลายเป็นความรู้และปรับปรุงตนเอ
 5.  เพราะเหตุใดองค์การในปัจจุบันจึงเล็งเห็นเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้
ตอบ   จะเห็นได้ว่า การสร้างความรู้ให้อยู่คู่กับองค์การจะต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทั้งองค์กร ไม่ใช่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการสร้างความรู้ในองค์การ คือ องค์จะต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และสร้างความรู้ และเมื่อองค์การร่วมกันสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้ จะ ทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์การในที่สุด ดังนั้นองค์การใดที่มีการสร้างสรรค์ความรู้อย่างไม่หยุดยั้งจะเป็นแรงผลัก ดันอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ในองค์การต่อไป
6.  จงอธิบายความหมายของการจัดการความรู้
ตอบ   การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
7.  กระบวนการของการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ    ประกอบด้วย  6  ส่วน
                1. การสร้างความรู้ (Create)
                2. การจัดและเก็บความรู้ (Capture/Store)
                3. การเลือกหรือกรองความรู้ (Refine)
                4. การกระจายความรู้ (Distribute)
                5. การใช้ความรู้ (Use)
                6. การติดตาม/ตรวจสอบความรู้ (Monitor)
8. ดังที่  Brain Quiun   กล่าวไว้ว่า  การจัดการความรู้เป็นกระบวนการ ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร
ตอบ    เห็นด้วย  เพราะเทคโนโลยีช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้ไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไม่ได้หากไม่มีแหล่งข้อมูล หรือผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทไม่มีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และจะเห็นได้ว่า ลำพังเทคโนโลยีสารสนเทศเองก็ไม่สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดสินค้า บริการ กระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ได้ เพราะทั้งหมดนี้จะมีอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการจัดการความรู้ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสนับสนุน ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่สิ่งรับประกันความสำเร็จในการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ความสำเร็จในการจัดการความรู้จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ไม่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น