วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 1-6


แบบฝึกหัดบทที่ 1
1) อธิบายความหมายและส่วนประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ  หมายถึงเทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน จัดการ และใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
 เทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการดังนี้
           1. ระบบประมวลผล
          2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
          3.การจัดการข้อมูล
 2)  เหตุใดการจัดการข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่นำมาประยุกต์ในการประมวลผล การจัดเก็บ     การสื่อสารและการส่งผ่านสารสนเทศด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยที่ระบบทางกายภาพประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารและระบบเครือข่าย ขณะที่ระบบนามธรรมเกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบของการมีปฏิสัมพันธ์ด้านสารสนเทศทั้งภายในและนอกระบบ ให้สามารถดำเนินการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
 3)  หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีหน้าที่อะไร และสามารถเปรียบเทียบกับอวัยวะส่วนใดของมนุษย์
ตอบ  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ เราสามารถเปรียบเทียบ CPU กับสมองของมนุษย์ที่มีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ
                - ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
                - คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล
 4)  เราสามารถจำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ เราสามารถจำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็น 4 ประเภท
                - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
                - เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
                - มินิคอมพิวเตอร์
                - ไมโครคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
 5)  เหตุใดจึงผู้กล่าวว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนแปลงโลก และท่านเห็นด้วยกับความคิดนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ  ไม่เห็นด้วย  เพราะ เป็นความจริงไม่น้อย แต่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงในสังคมได้ เหมือนอย่างที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ถ้าขาดเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมาสนับสนุน ปัจจุบันเราสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การได้หลากหลาย ตั้งแต่การปฏิบัติงานประจำวัน การวางแผนยุทธวิธีและการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจโดยเทคโนโลยีสื่อสารจะช่วยเพิ่มผลิตและทางเลือกในการสื่อสาร และการจัดการข้อมูล
 6)  ชุดคำสั่งและภาษาคอมพิวเตอร์คืออะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ  ชุดคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสาร และสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยชุดคำสั่งจะทำหน้าที่สั่งงานและควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานที่กำหนด
          ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร สารระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกราบรื่น 
          มีความสัมพันธ์ คือ ชุดคำสั่งสำหรับใช้งานและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ จะถูกเขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาและการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องทำการเรียนรู้ภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างดี
 7)  ภาษายุคที่ 4 หรือ 4GL เป็นอย่างไร และมีความแตกต่างจากภาษาคอมพิวเตอร์ในอดีตอย่างไร
ตอบ  ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้ง่ายต่อการเรียนรู้และการนำไปใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เขียนชุดคำสั่งและผู้ใช้ที่มีความรู้จำกัดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
 8)  จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นประโยชน์ต่องานสารสนเทศขององค์กร
ตอบ  การสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล ตลอดจนการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกัน ให้สื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แบบฝึกหัดบทที่ 2 
สรุปบทที่ 2
                ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึงระบบที่รวบรวมข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ โดยที่ MIS ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ประการดังนี้
                - เครื่องมือในการสร้าง MIS เป็นส่วนประกอบ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็นระบบสารสนเทศ และช่วยให้ระบบสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                - วิธีการประมวลเป็นลำดับชั้นในการประมวลผลข้อมูล
                - การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศมักเป็นรูปของรายงานต่างๆซึ่งสามารถเรียกมาแสดงได้อย่างรวดเร็ว
                ปัจจุบันผู้จัดการตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการระดับกลาง และหัวหน้าพนักงานระดับปฏิบัติงาน ต่างเกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม มีระดับการใช้งานสำคัญที่แตกต่างกัน โดยมีบทบาทดังนี้
                - ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ
                - เข้าใจความต้องการของระบบ
                -มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้าง
                - บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ
                - จัดการและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง
                ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางกลายเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคข้อมูลข่าวสาร และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างมหาศาล คือ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้สามารถจำแนกผลกระทบทางบวกของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้
                - เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริหารและการผลิต
                - เกิดสังคมแห่งการสื่อสารและสังคมโลก
                - มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆในฐานข้อมูลความรู้
                - เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย
                - พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่
                - การทำงานแลกเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
                - ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น
นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกผลกระทบทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้
                - ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม
                - ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก
                - ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม
                - การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง
                - การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
                - เกิดช่องว่างทางสังคม
                - เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี
                - อาชญากรรมบนเครือข่าย
                - ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ

1) นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ  หมายถึงระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์
            ตัวอย่างคือ  สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆทั้งจากภายในและภายนอกองค์การมาไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ
            สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงาน และการบริหารงานของผู้บริหาร
 2) ข้อมูลและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  เหมือนกันเนื่องจากข้อมูลและสารสนเทศจะเป็นหน่วยพื้นฐานของ MIS ที่ต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อการดำเนินงานและการตัดสินใจทางธุรกิจ
          อย่างไรก็ดีข้อมูลและสารสนเทศสามารถใช้ทดแทนกันในหลายโอกาส แต่บางครั้งอาจมีความหมายที่แตกต่างกันมาก  เนื่องจากความเจาะจงในการใช้งาน
 3) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ      -  ถูกต้อง
                -  ทันเวลา
                -  สอดคล้องกับงาน
                -  สามารถตรวจสอบได้
 4) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
ตอบ  สามารถนำสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสทางธุรกิจ กล่าวได้ว่าสารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความหมายหรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เนื่องจากข้อมูลที่ดีย่อมเป็นวัตถุดิบสำหรับสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพจะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจวางแผน กำหนดเป้าหมาย และแก้ปัญหาในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นได้อย่างดี
 5) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
ตอบ       -  ความสามรถในการจัดการข้อมูล
                -   ความปลอดภัยของข้อมูล
                -  ความยืดหยุ่น
                -  ความพอใจของผู้ใช้
6) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
ตอบ  มี 3 ระดับ        หัวหน้างานระดับต้น
                                 -   ผู้จัดกลางระดับกลาง
                                 ผู้บริหารระดับสูง
 7) จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ
ตอบ       หัวหน้างานระดับต้น เป็นบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลการปฏิบัติงานแบบวันต่อวัน ได้แก่ หัวหน้างาน หัวหน้าหน่วย และหัวหน้าแผนก
                -  ผู้จัดการระดับกลาง เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ควบคุมและประสานงานระหว่างหัวหน้างานระดับปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้การประสานงานในองค์กรราบรื่น ทำให้หัวหน้างานและพนักงานระดับปฏิบัติ สามารถปฏิบัติงานตามนโยบายที่มาจากผู้บริหารระดับสูงอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
                -  ผู้บริหารระดับสูง เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง วางนโยบาย และแผนงานระยะยาวขององค์การ โดยอาศัยข้อสรุปและสารสนเทศจากกลุ่มผู้จัดการระดับกลาง
 8) ผู้บริหารสมควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
ตอบ  กำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง วางนโยบาย และแผนงานระยะยาวขององค์การ
 9) โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ  แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
                -  หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                -  หน่วยเขียนชุดคำสั่ง
                -  หน่วยปฏิบัติการและบริการ
10) บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ  มี 7 ประเภท
                -  หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ
                -  นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                -  ผู้เขียนชุดคำสั่ง
                -  ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
                ผู้จัดตารางเวลา
                -  พนักงานจัดเก็บและรักษา
                -   พนักงานจัดเตรียมข้อมูล
 11) เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ตอบ  เพราะ IT  มีอิทธิพลอย่างมากในเรื่องการกระจายอำนาจ ทรัพย์สิน สิทธิ และความรับผิดชอบ การพัฒนา IT  ทำให้เกิดผู้แพ้ ผู้ชนะ ผู้ได้ประโยชน์ หรือผู้เสียประโยชน์ จะเห็นว่าระบบข้อมูลสารสนเทศนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง โดยแผนกหรือฝ่ายสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีนโยบายที่แน่นอนในการจัดการข้อมูลให้เกิดความปลอดภัย ใช้อย่างถูกต้อง และเป็นประโยชน์
 12) จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ  ผลกระทบทางบวกคือ
                -  เพิ่มความสะดวกสบายในเรื่องการสื่อสาร การบริการ และการผลิต
                -  เกิดสังคมแห่งการสื่อสารและสังคมโลก
                -  มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆในฐานข้อมูลความรู้
                เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ
                พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่
                ผลกระทบทางลบคือ
                -  ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม
                -  ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก
                -  ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม
                การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง
                -  อาชญากรรมบนเครือข่าย
                เกิดช่องว่างทางสังคม           
แบบฝึกหัดบทที่ 3         
สรุปบทที่ 3
                ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจที่เรียกว่า TPS   คือ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการรายงานที่เรียกว่า MRS  คือ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ
                ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่เรียกว่า DSS  คือ  ระบบที่จัดหาหรือจัดเตรียมสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เพื่อช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต
                ระบบสารสนเทศสำนักงานที่เรียกว่า OIS  คือ ระบบที่ถูกออกแบและพัฒนาขึ้นให้ช่วยการทำงานในสำนักงาน โดยที่ OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและใช้เทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานเพื่อเพิ่มผลผลิต และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสำนักงาน
  1.1    อธิบายความหมายของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ TPS
ตอบ   ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
 1.2  หน้าที่หลักของ TPS มีอะไรบ้าง
ตอบ       -  การทำบัญชี
                -  การออกเอกสาร
                -  การทำรายงานควบคุม
1.3  อธิบายส่วนประกอบของวงจรการทำงานของ TPS ว่าแตกต่างจากระบบจัดออกรายงานสำหรับการจัด MRS อย่างไร
ตอบ  TPSถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานประจำวันขององค์การ ซึ่งมีลักษณะร่วมที่ต้องปฏิบัติตามรอบระยะเวลา หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนดไว้ โดยที่ผู้ใช้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ให้การทำงานสะดวกขึ้น โดยปกติเวลาการทำงานของระบบสารสนเทศสำหรับปฏิบัติการทางธุรกิจ
 2.1 อธิบายความหมายของระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ MRS
ตอบ  ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ
2.2  รายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีกี่ประเภท และอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ  มี 4 ประเภท
                -  รายงานที่ออกตามตาราง  เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดแน่นอน เช่น ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำเดือน เป็นต้น โดยรายงานตามตารางเวลาจะสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านมา
                -  รายงานที่ออกในกรณีพิเศษ เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเมื่อมีสิ่งผิดปกติหรือปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น โดยการนำเสนอรายงานพิเศษมีวัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้บริหารรับทราบ และทำการตัดสินใจแก้ไขและควบคุมผลประโยชน์ขององค์การ
                -  รายงานที่ออกตามความต้องการ เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามความต้องการของผู้บริหาร ซึ่งรายงานตามความต้องการจะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องที่ผู้บริหารต้องการทราบ เพื่อให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจในปัญหาและสามารถตัดสินใจอย่างเหมาะสม
                -  รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์  เป็นรายงานที่ใช้ข้อสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร การพยากรณ์จะอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติและคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า การวิจัยขั้นดำเนินงานมาทำการประมวลผลข้อมูลในอดีต เพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถมีแนวทางในการเลือกตัดสินใจ
 2.3 สิ่งที่ควรมีในรายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีอะไรบ้าง
ตอบ       -  สามารถที่จะสนับสนุนการตัดสินใจทั้งที่เป็นแบบโครงสร้างและกึ่งโครงสร้างมรประสิทธิภาพ
                -  ผลิตเอกสารหรือรายงานตามตารางที่กำหนด
                -  ถูกผลิตออกมาในรูปแบบที่คงที่หรือถูกกำหนดไว้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้งานตามความต้องการ
                -  สารสนเทศที่ถูกบรรจุอยู่ในรายงานหรือเอกสาร มักเป็นสารสนเทศที่เกิดขึ้นในอดีตมากกว่าที่จะสัมพันธ์กับอนาคต โดย MRS จะรวบรวมและประมวลผลข้อมูลที่เกิดขึ้น แล้วเสนอต่อผู้จัดการเพื่อทำการศึกษา วิเคราะห์
 2.4  คุณสมบัติที่ดีของระบบ MRS มีอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ       -  ตรงประเด็น  รายงานที่ออกควรที่จะบรรจุด้วยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการ หรือเป็นประโยชน์ต่อเรื่องที่ผู้บริหารกำลังตัดสินใจอยู่
                -   ความถูกต้อง  รายงานที่ออกควรบรรจุด้วยสารสนเทศที่ถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาด และเป็นที่เชื่อถือได้ของผู้บริหาร
                -  ถูกเวลา  รายงานที่ออกควรบรรจุด้วยสารสนเทศที่ทันสมัยและทันเวลาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่กำลังกระทำอยู่ในขณะนั้น
                -  สามารถพิสูจน์ได้  รายงานที่ออกควรบรรจุด้วยสารสนเทศที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาว่า เป็นข้อมูลจากแหล่งใด และมีความน่าเชื่อถือเพียงใด
 3)  จงอธิบายความหมายของระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ DSS
ตอบ  ระบบที่จัดหาหรือจัดเตรียมสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เพื่อช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต
 4.1  จงอธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS
ตอบ  ระบบที่ถูกออกแบและพัฒนาขึ้นให้ช่วยการทำงานในสำนักงาน โดยที่ OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและใช้เทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานเพื่อเพิ่มผลผลิต และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสำนักงาน
4.2  อธิบายหน้าที่ของระบบจัดการเอกสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  หน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดทำ กระจาย และเก็บรักษาเอกสารต่างๆภายในองค์การ โดยระบบจัดการเอกสารจะประกอบไปด้วยเครื่องมือสำคัญ ดังนี้
                -  การประมวลคำ  ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ มักจะพิมพ์เอกสารโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และชุดคำสั่งสำหรับการประมวลภาษา โดยที่ชุดคำสั่งสำหรับประมวลภาษาจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการพิมพ์งาน
                -  การผลิตเอกสารหลายชุด เป็นการผลิตเอกสารแบบเดียวกันหลายๆชุด เพื่อที่จะเผยแพร่ทั้งภายในภายนอกสำนักงาน ปัจจุบันมีการใช้ระบบที่เรียกว่า ระบบอัดสำเนาอัจฉริยะ
                -  การออกแบบเอกสาร เป็นชุดคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถผลิตเอกสารและสิ่งพิมพ์ให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับการผลิตโดยมืออาชีพ
                การประมวลรูปภาพ เป็นการอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถที่จะนำรูปภาพจากเอกสารต่างๆมาเก็บไว้ในฐานข้อมูล และสามารถเรียกกลับมาทำการดัดแปลงเพื่อใช้งานได้
                การเก็บรักษา เป็นการเก็บรักษาข้อมูลในหน่วยความจำสำรอง เช่น เทปแม่เหล็ก ไมโครฟิล์ม แผ่นจานแม่เหล็ก หรือแผ่น CD เป็นต้น
 4.3  อธิบายหน้าที่ของระบบควบคุมข่าวสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อควบคุมการกระจายและการใช้งานข่าวสารในสำนักงาน โดยการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ
                -  โทรสาร หรือที่เรียกว่า แฟกซ์  เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รู้จักกันดีในสำนักงาน ปัจจุบันเครื่องโทรสารช่วยให้ข่าวสารข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อความและรูปภาพบนกระดาษ หรือในระบบข้อมูลขององค์การถูกส่งจากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่งอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ
                ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า อีเมล เป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารที่ใช้ในการส่งข่าวสารจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง และถูกเก็บรักษาไว้ จนกระทั่งมีการเรียกดูจากผู้รับ
                -  ไปรษณีย์เสียง เป็นการส่งผ่านข่าวสารที่เป็นเสียงจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง โดยผ่านระบบโทรศัพท์ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่แปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิตอล
4.4  อธิบายหน้าที่ของระบบการประชุมทางไกลในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  เป็นระบบเชื่อมโยงบุคคลตั้งแต่ 2 คน ซึ่งอยู่กันคนละที่ ให้ประชุมหรือสามารถโต้ตอบกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอยู่ในสถานที่เดียวกัน
                -  การประชุมทางไกลที่ใช้ทั้งภาพและเสียง
                การประชุมทางไกลใช้เฉพาะเสียง
                -  การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์
                -  โทรทัศน์ภายใน
                การปฏิบัติงานผ่านระบบสื่อสารทางไกล
 4.5 อธิบายหน้าที่ของระบบสนับสนุนการทำงานสำนักงานในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  ช่วยให้พนักงานในสำนักงานเดียวกันใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในสำนักงานให้เกิดประโยชน์ในการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน

แบบฝึกหัดบทที่ 4
สรุปบทที่ 4
                การพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นงานใหญ่ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านงบประมาณ ทรัพยากรขององค์การ และระยะเวลา แต่สิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบประสบความสำเร็จ คือ ผู้ใช้ระบบจะต้องให้ข้อมูลแก่ทีมงานพัฒนาระบบในด้านต่างๆ คือ สารสนเทศที่หน่วยงานต้องการผู้ใช้ต้องการให้ระบบมีความสามารถอย่างไร โดยที่การพัฒนาระบบให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
                -  ผู้นำและผู้ใช้ระบบมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ
                การวางแผนพัฒนาระบบถูกดำเนินการอย่างถูกวิธี
                มีแนวทางที่แน่นอนในการออกแบบ
                มีการวางแผนและการฝึกอบรมผู้ใช้
                มีการตรวจสอบหลังการติดตั้งระบบใหม่เป็นระยะ
                หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ คือ การวางแผน การวิเคราะห์ระบบ และการออกแบบระบบ อีกทั้งในระหว่างการพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการอีกหลายหน้าที่ เช่น ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่างๆ รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
                การพัฒนาระบบสารสนเทศจะมีกระบวนการที่ใหญ่แบ่งออกได้เป็นหลายขั้นตอน การที่จะพัฒนาระบบให้ได้มีประสิทธิภาพ ทีมพัฒนาระบบจะต้องเข้าใจถึงขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาเป็นอย่างดี ซึ่งกระบวนการพัฒนาระบบนั้นสามารุแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอนคือ
                -  การสำรวจเบื้องต้น
                -  การวิเคราะห์ความต้องการ
                การออกแบบระบบ
                การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
                การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
 1)  ผู้ใช้มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไรบ้าง
ตอบ  พัฒนาระบบใหม่ให้กับองค์การ โดยบุคคลหรือกลุ่มควรที่จะมีการทำงานที่ใกล้ชิดกับทีมงานผู้พัฒนาระบบหรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานผู้พัฒนาระบบ

2)  ปัจจัยที่ช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
ตอบ       -  ผู้ใช้ระบบ
                -   การวางแผน
                การทดสอบ
                -  การจัดเก็บเอกสาร
                -  การเตรียมความพร้อม
                การตรวจสอบและประเมินผล
                -  การบำรุงรักษา
                อนาคต
 3)  หน้าที่สำคัญของนักวิเคราะห์ระบบในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง
ตอบ       -  ที่ปรึกษา
                ผู้เชี่ยวชาญ
                ตัวแทนการเปลี่ยนแปลง
 4)  ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศมีลักษณะอย่างไร ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติงานร่วมกัน
ตอบ  เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบ ปกติการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การขนาดใหญ่ จะต้องมีการทำงานร่วมกันของสมาชิกจากหลายส่วน  ประกอบด้วย
                คณะกรรมการดำเนินงาน
                ผู้จัดการระบบสารสนเทศ
                -  ผู้จัดการโครงการ
                นักวิเคราะห์ระบบ
                นักเขียนโปรแกรม
                เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล
                ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป
                เพราะ การทำงานยากที่บุคคลเพียงคนเดียวจะปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ ที่ต้องการความรู้และความชำนาญจากหลายหน้าที่ ทำให้การปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม เป็นวิธีการที่เหมาะสม
 5)  วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่วิธี อะไรบ้าง
ตอบ  มี 4 วิธี คือ
                วิธีเฉพาะเจาะจง
                วิธีสร้างฐานข้อมูล
                วิธีจากล่างขึ้นบน
                วิธีจากบนลงล่าง
 6)  การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ  มี 5 ขั้นตอน คือ
                การสำรวจเบื้องต้น
                การวิเคราะห์ความต้องการ
                การออกแบบระบบ
                การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
                การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
 7)  ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นสำรวจเบื้องต้น
ตอบ  ต้องสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับระบบงาน ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบที่ต้องการ สิ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ในการดำเนินงาน และการประมาณการของค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้
 8)  ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นวิเคราะห์ความต้องการ
ตอบ  มุ่งเจาะลงลึกในรายละเอียดที่มากกว่าในขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้ การใช้งานในแต่ละด้านของระบบใหม่
 9)  ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นออกแบบระบบ
ตอบ  ทำการออกแบบรายละเอียดในส่วนต่างๆของระบบสารสนเทศ ได้แก่ การแสดงผลลัพธ์                         การป้อนข้อมูล กระบวนการการเก็บรักษา การปฏิบัติงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบงานใหม่
 10)  ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
ตอบ  กำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่างๆที่ต้องการจากผู้ขาย ปกติทีมงานผู้พัฒนาระบบจะต้องทำการจัดหาสิ่งที่ต้องการ โดยเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอจากผู้ขายอุปกรณ์ต่างๆ
 11)  ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
ตอบ  ควบคุมและดูแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆของระบบใหม่ โดยดำเนินการด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา  และต้องมีการทดสอบการใช้งานว่า ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์และรูปแบบที่ได้ทำการออกแบบไว้หรือไม่
 12)  รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  มี 4 รูปแบบ คือ
                รูปแบบน้ำตก วงจรการพัฒนาระบบแบบนี้ได้เผยแพร่ใช้งานในปี ค..1970 เป็นรูปแบบที่มีมานาน และเป็นที่นิยมใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีหลักการเปรียบเทียบเสมือนกับน้ำตกซึ่งไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
                รูปแบบวิวัฒนาการ วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบวิวัฒนาการมีแนวความคิดที่เกิดมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการ โดยจะพัฒนาระบบจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในเวอร์ชันแรกก่อน จากนั้นพิจารณาข้อดีข้อเสียของระบบหาข้อผิดพลาดโดยการทดสอบและประเมินระบบ
                รูปแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบบวิวัฒนาการ แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ระบบที่ได้ในแต่ละช่วง เนื่องจากระบบที่เกิดขึ้นในการพัฒนาขั้นแรกนั้นจะยังไม่ใช่ระบบที่สมบูรณ์ แต่เป็นระบบเพียงส่วนแรกเท่านั้นจากระบบที่ต้องการทั้งหมด
                รูปแบบเกลียว มีลักษณะที่กระบวนการวิเคราะห์ การออกแบบ และการพัฒนา จะวนกลับมาในแนวทางเดิมเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ระบบที่สมบูรณ์
13)  การปรับเปลี่ยนระบบมีกี่วิธี  อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  มี 4 วิธี
                การปรับเปลี่ยนโดยตรง  เป็นการแทนที่ระบบสารสนเทศเดิมด้วยระบบใหม่อย่างสมบูรณ์ โดยการหยุดใช้ระบบเก่าอย่างสิ้นเชิงและเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ในทันที
                -  การปรับเปลี่ยนแบบขนาน เป็นการดำเนินการโดยใช้งานทั้งระบบสารสนเทศเก่าและระบบใหม่ไปพร้อมๆกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เป็นหลักประกันความเสี่ยงว่า ถ้าระบบงานใหม่ยังไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงแล้ว ก็ยังมีระบบเก่าที่สามารถทำงานได้รองรับงานอยู่
                การปรับเปลี่ยนแบบเป็นระยะ เป็นการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศเก่าไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่เฉพาะงานด้านใดด้านหนึ่งก่อน เมื่องานด้านนั้นทำงานได้ประสบความสำเร็จแล้ว จึงขยายการปรับเปลี่ยนระบบออกไปในด้านอื่นอีก
                -  การปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง เป็นการปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่อย่างเป็นขั้นตอนและค่อยเป็นค่อยไป หลังจากที่ส่วนหนึ่งติดตั้งเสร็จ และใช้งานได้ดีแล้ว ก็จะขยายผลไปในส่วนต่อๆไป
 แบบฝึกหัดบทที่ 5
สรุปบทที่ 5
                เราจะแบ่งการจัดแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 แบบคือ การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  เป็นวิธีการจัดเก็บและรวบรวมระเบียนของข้อมูลตามลำดับก่อนหลัง โดยจัดเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
                การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม  เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง
                ฐานข้อมูล  หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้ไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผลและปรุยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมี  ประสิทธิภาพ
                ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่ง สำหรับการใช้งานกับหน่วยเก็บข้อมูล DBMS จะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูลและพจนานุกรมข้อมูล
                ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายข้อมูล หมายถึงระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลไว้ในที่ต่างๆมากกว่า 1 แห่ง โดยข้อมูลส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้ในสถานที่แห่งหนึ่ง ขณะที่ข้อมูลส่วนที่เหลืออาจจะถูกเก็บรวมไว้ในอีกที่หนึ่งหรือถูกแยกเก็บไว้ตามที่ต่างๆ โดยที่ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกเรียกมาประมวลผล
1)  เราสามารถจำแนกการจัดการเพิ่มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ  มี 2 แบบ คือ
                การจัดแฟ้มแบบเรียงลำดับ
                การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
2)  จงอธิบายความหมาย ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเพิ่มแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
ตอบ  ข้อดี
                การเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านแฟ้มข้อมูลอื่นเหมือนการจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ
                -  สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย เนื่องจากปรับปรุงแฟ้มข้อมูลทำได้โดยง่าย ไม่จำเป็นจะต้องเรียงลำดับหรือรอเวลา
                มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ ตลอดจนมีระยะเวลาในการประมวลผลไม่แน่นอน
          ข้อจำกัด
                -  ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย เนื่องจากการดำเนินงานมีความยืดหยุ่น ถ้าขาดการจัดการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บ ความถูกต้องและความแน่นอนของแฟ้มข้อมูล
                การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ เนื่องจากต้องจัดรูปแบบความสัมพันธ์ขึ้นใหม่
                มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง และผู้ใช้ต้องมีทักษะในงานมากกว่าแฟ้มข้อมูลระบบเรียงลำดับ
 3)  ฐานข้อมูลคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ  ฐานข้อมูล  หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้ไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผลและปรุยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมี  ประสิทธิภาพ
 4)  เราสามารถจำแนกแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ  มี 3 ประเภท คือ
                แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น
                แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย
                แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์
5)  จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานของแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท
ตอบ       แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น แสดงโครงสร้างข้อมูลที่มีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหลาย โดยที่การจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้นจะมีการจัดโครงสร้างลักษณะต้นไม้ ที่เริ่มจากส่วนรากแล้วแพร่ขยายออกไปเป็นสาขา
                แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย เป็นแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกว่าแบบจำลองเชิงลำดับขั้น เนื่องจากโครงสร้างประเภทนี้จะมีความสัมพันธ์ในลักษณะหนึ่ง
                แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เป็นแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปตาราง 2 มิติ ซึ่งแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์แสดงความสัมพันธ์ข้อมูลที่อยู่ในตารางเดียวกัน
 6)  ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ตอบ  ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง ควบคุม และดูแลฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่ง สำหรับการใช้งานกับหน่วยเก็บข้อมูล DBMS จะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ
                -  ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล
                ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล
                -  พจนานุกรมข้อมูล
 7)  จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
ตอบ  เป็นเครื่องมือที่จัดเรียบเรียงความหมายและอธิบายลักษณะที่สำคัญของข้อมูลในฐานข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและระเบียบ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นคว้าและนำไปใช้อ้างอิงในอนาคต
 8)  นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง
ตอบ  ทำหน้าที่ดูแลรักษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูล ตลอดจนจัดทำนโยบายวางแผน และดำเนินการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลของธุรกิจขึ้น จัดทำหลักฐานอ้างอิงของระบบฐานข้อมูล และประสานงานกับผู้ใช้ 
9)  เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ (CIO) และ CIO มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร
ตอบ  รองประธานบริษัท ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้างานด้านสารสนเทศ ตามแต่การแบ่งงานขององค์การ ขณะที่บางองค์การได้แยกหน่วยงานทางด้านสารสนเทศออกเป็นอิสระจากองค์การเดิม
 10)  จงอธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีฐานข้อมูลในอนาคต
ตอบ  ต้องมีความถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย ส่งผลให้องค์การไม่จำเป็นต้องทำการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
 แบบฝึกหัดบทที่ 6
สรุปบทที่ 6
                รูปแบบของเทคโนโลยีของเครือข่ายหลักๆมี 4 แบบคือ
                 โทโปโลยีแบบบัส  เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คือ อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนดในเครือข่าย จะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า  บัส
                โทโปโลยีแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเหมือนวงแหวน ในแต่ละโหนดหรือสถานีจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสารในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร
                -  โทโปโลยีแบบดาว เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาวหลายแฉก โดยมีสถานีกลางหรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย
                -  โทโปโลยีแบบผสม เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์การ
                ปัจจุบันช่องทางการติดต่อสื่อสารมีอยู่ 2 ลักษณะ ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ได้แก่ การสื่อสารแบบมีสาย เช่น สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ สายโคแอกเซียลและสายใยแก้วนำแสง และระบบสื่อสารแบบไร้สาย เช่น คลื่นสั้น และดาวเทียม โดยช่องทางการติดต่อสื่อสารแต่ละลักษณะจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สัญญาณแบบแอนะล็อกและสัญญาณแบบดิจิตอล ส่วนอุปกรณ์สนับสนุนการติดต่อสื่อสารสำคัญมีดังนี้ อุปกรณ์ประมวลผลหน้า อุปกรณ์รวบรวม และอุปกรณ์ควบคุม
1)  ระบบเครือข่ายสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อการพัฒนา และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจอย่างไร
ตอบ  เป็นระบบสารสนเทศที่เปรียบเสมือนระบบประสาทและสมองที่ควบคุมการทำงานภายใน รับสัมผัส และตอบสนองต่อภายนอก
2)  ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
ตอบ  4 ชนิด คือ
                ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่
                ระบบเครือข่ายเฉพาะเขตเมือง
                ระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่
                -  ระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ
3)  ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN) และระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ (WAN) มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ       LAN   เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในระยะใกล้เข้าด้วยกัน
                WAN  เป็นระบบที่ติดต่อโดยการใช้คลื่นไมโครเวฟและดาวเทียมเข้าช่วย เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพ
4)  จงเปรียบเทียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เพื่อที่จะให้ช่องทางส่งสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกัน
5)  รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ  มี 4 รูปแบบ คือ
                โทโปโลยีแบบบัส
                โทโปโลยีแบบวงแหวน
                โทโปโลยีแบบดาว
                โทโปโลยีแบบผสม 
6)  ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ อะไรบ้าง
ตอบ  มี 2 ลักษณะ คือ
                -  ระบบสื่อสารแบบมีสาย
                ระบบสื่อสารแบบไร้สาย
7)  สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ    สายเกลียวคู่ คือ สายที่มีเส้นลวด 2 เส้นพันกันเป็นเกลียว โดยมีฉนวนห่อหุ้มเส้นลวดเกลียวคู่แต่ละเส้นไว้ เหตุที่เส้นลวดพันกันเป็นเกลียวก็เพื่อลดเสียงรบกวน การส่งข้อมูลด้วยสายเกลียวคู่นี้มักเป็นการส่งสัญญาณเสียง
                สายโคแอกเซียล มีลักษณะเป็นสายกระบอกที่ทำด้วยทองแดง และมีลวดตัวนำอยู่ตรงกลาง ระหว่างลวดตัวนำและทองแดงจะมีฉนวนห่อหุ้มสายโคแอกซ์ สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็วและมากกว่าสายเกลียวคู่ ตลอดจนช่วยป้องกันการรบกวนในการติดต่อสื่อสารได้ดีกว่าสายเกลียวคู่
                สายใยแก้วนำแสง มีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้ายเส้นใยแก้ว โดยข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณแสงและส่งผ่านไปตามเส้นใยด้วยความเร็วแสง จึงทำให้เส้นใยนำแสงสามารถส่งข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน ทนทาน และป้องกันการรบกวนได้ดีกว่าเส้นลวดชนิดต่างๆ
8)  จงอธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญาณแบบแอนาล็อก กับสัญญาณแบบดิจิตอล
ตอบ    แบบที่ 1 จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง ระดับของสัญญาณ จะเปลี่ยนสูงหรือต่ำอย่างต่อเนื่อง ที่ทุกๆค่าเปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณจะมีความหมาย การส่งสัญญาณแบบนี้จะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย
           แบบที่ 2 ประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบแอนะล็อก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น